Thai  Thai

เกาะเต่า

  เกาะเต่า ในปัจจุบันนี้ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นิยมกัน แต่เชื่อมั้ยครับว่า ในอดีตเกาะเต่าได้เคยใช้เป็นสถานที่ กักขัง นักโทษ ในยุคกบฏบวรเดช เพราะว่าที่ตั้งของเกาะเต่า นั้น เป็นลักษณะทื่เป็นเกาะซึ่งโดดเดี่ยว อยู่กลาง ทะเล และยากแก่การหลบหนีของนักโทษทางการเมือง ตอนที่นักโทษในสมัย นั้นอาศัยอยู่บนเกาะเต่าทาง ผู้ควบคุมเรือนจำก็ได้ให้งานนักโทษทำไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านพักให้กับ ผู้อำนวยการเรือนจำ บ้านพักข้าราชการต่างๆที่และได้สร้างแท็งน้ำขนาดใหญ่ไว้สำหรับดื่มกินและใช้ในยามจำเป็นของนักโทษที่อาศัยอยู่บนเกาะและ พนักงานข้าราชการต่างๆ ในเวลาต่อมา ได้เกิดสงครามแปซิฟิกขึ้น ทางรัฐบาล ไทยเกรงว่า ประเทศอังกฤษ จะมาเอาตัวนักโทษไป จากที่เกาะตะรุเตา ทางรัฐบาลจึงตัดสินใจ ย้าย สถานที่กักขังของนักโทษมาเป็นที่เกาะเต่า เพราะทำเล ที่ตั้งของนั้น เป็นเกาะที่โดดเดี่ยวกลางทะเล แต่ในระหว่างที่ทางรัฐบาลกำลังขนย้ายตัวนักโทษ มายังที่เกาะเต่า ด้านของเกาะเต่าเอง แท็งน้ำที่อยู่บนเกาะเต่า ได้เกิดพังทลายลงมา จึง ทำให้นักโทษที่อยู่บนเกาะเต่า นั้นขาดแคลนน้ำ ไม่มีน้ำ ทางการผู้คุมนักโทษ จึงได้สั่งให้ขุด ขุดบ่อน้ำเล็กๆ เอาไว้เพื่อให้นักโทษ ทั้งหมด54 คนที่จะต้องใช้น้ำ แต่ปรากฎว่าน้ำที่อยู่ภายในบ่อ ยังไหลออกมาไม่เพียงพอ และประกอบกับความต้องการของนักโทษ มีมากขึ้น นักโทษเลยจึง ตัดสินใจที่จะ ซื้อน้ำ มาใช้ในราคาที่เเพงมาก


ในช่วงระยะเวลาเดือนแรกนั้น พัศดี เพี้ยน อนุโรจน์ ผู้อำนวยการเรือนจำ ผู้อำนวยการเกาะได้ให้เกียรติ และปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองอย่างดี ตามแบบฉบับที่ควรปฏิบัติต่อนักโทษการเมือง คือ ในตอนกลางวันอนุญาตให้นักโทษการเมืองออกจากบริเวณรั้วท่องเที่ยวไปตกปลาหา พืชผักเป็นอาหารได้โดยเสรี ทั้งนี้โดยถือว่า เกาะเต่า เป็นเกาะซึ่งอยู่โดดเดี่ยวไม่มีเกาะอะไรอยู่ใกล้เคียง และมีทะเลเป็นรั้วรอบอยู่แล้ว ในเวลากลางคืนจึงได้จำกัด ให้นักโทษการเมืองอยู่ในบริเวณรั้วกั้น แต่เพียงชั่วเวลาไม่นาน การปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองดีเกินไป ยังผลให้พัศดีเพี้ยน ผู้นี้ต้องถูกสั่งย้ายจาก เกาะเต่า โดย พันตำรวจเอกพระกล้ากลางสมร (มงคล หงสไกร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ขณะนั้นเห็นว่า เป็นการปล่อยปละนักโทษการเมืองเกินไป ร้อยตรีพยอม เปรมเดชา ได้มาเป็นพัศดีแทน โดยมี จ่าผ่อน หนูรักษา เป็นผู้ช่วยในทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง เขาก็สั่งกักขังนักโทษการเมืองไว้ในเรือนขังในเวลา กลางคืน และกักให้อยู่ในบริเวณรั้วในเวลากลางวัน นักโทษการเมืองจึงหมดโอกาสที่ จะไปตกปลา หาหอย หาปู และพืชผักมาเป็นอาหาร จำต้องกินอาหารอันแร้นแค้น และขาดคุณภาพซึ่งทางเรือนจำจัดหาให้ ร่างกายจึงขาดอาหาร และผ่ายผอมอ่อนแอ จนไม่อาจต้านทานต่อเชื้อไข้จับสั่นที่เป็นมาแล้วจากเกาะตะรุเตา เมื่อได้รับเชื้อใหม่อันร้ายแรงของเกาะเต่า ซึ่งเป็นที่ๆ เพิ่งหักร้างถางพงใหม่ๆ และฝนตกชื้นเสมอ นักโทษการเมืองจึงเป็น ไข้จับสั่นกันแทบทุกคน


ความคับแค้นประการสำคัญที่สุดก็คือการติดต่อส่งข่าวคราวทางจดหมายกับญาติเป็นไปด้วยความลำบากอย่างยิ่ง เพราะเรือไม่มีเชื้อเพลิงทั้งเรือดำน้ำทางฝ่ายสัมพันธมิตรก็ยุ่มย่ามมากขึ้น
แต่ในท้ายที่สุด นักโทษทางการเมือง ในสมัยกบฏบวรเดช พ.ศ.2476 และคดีกบฏ พ.ศ.2481 ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จอมพลแปลกที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ ลาออก ไป ด้วยการแพ้คะแนนเสียงกับรัฐสภา เรื่องการสร้างนครเพชรบูรณ์ เลยจึงทำให้ นายควง อภัยวงศ์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และได้ทรงกราบทูลขอพระราชทาน อภัยโทษให้กับนักโทษดังกล่าว หลังจากที่นักโทษได้รับการปล่อยตัวแล้ว จึงทำให้เกาะเต่า ร้างมาเป็นเวลานาน จนถึง ในปี 2490 มีชาวบ้าน ได้อพยพย้ายมาจาก เกาะสมุย และเกาะพะงัน เพื่อที่จะมาตั้งถิ่นฐาน ที่เกาะเต่า ทำให้เกาะเต่า ในเวลานั้น เริ่มเป็นที่รู้จักของชาวบ้านและชาวเดินเรือ ที่มาจอดแวะพักในตอนนั้น ทำให้เกาะเต่า มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งทางบก และทางทะเล โดยเฉพาะในช่วง เดือน มิ.ย.-ส.ค. ของทุกปี ก็จะมีเต่าทะเลว่ายขึ้นมาวางไข่บนทุกชายหาดของเกาะเต่า จนทำให้กลายเป็นที่มาของเกาะเต่า ชาวบ้าน ส่วนใหญ่จะมีอาชีพ ทำสวน มะพร้าว ปลูกต้นมะพร้าว และทำการประมง แต่ในระยะเวลาต่อมา เกาะเต่า แห่งนี้ได้มีชื่อเสียง เพิ่มมากขึ้น และเป็นที่รู้จักของ นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ ทำให้ ชาวบ้านที่อาศัยในเกาะเต่า ปัจจุบัน หันมาทำการท่องเที่ยว แทน......



เกาะเต่าอยู่ห่างจากเกาะพะงันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปประมาณ 45 กิโลเมตร มีฐานะ เป็นตำบลที่ขึ้นอยู่กับเกาะพะงัน ประกอบไปด้วยเกาะเต่าและเกาะนางยวน มีลักษณะคล้ายเม็ตถั่ว เป็นภูเขาที่เว้าแหว่งกลายเป็นอ่าวแหลมที่สมบูรณ์และมีความสวยงามตามธรรมชาติ รอบเกาะมีอ่าวถึง 11 อ่าว 10แหลม ตั้งอยู่บริเวณโดยรอบของเกาะ ซึ่งมีความยาวประมาณ 28.6 กิโลเมตร และมีความยาวของแนวประการังที่สวยงามถึง 8 กิโลเมตร แม้ว่าเกาะเต่าจะเป็นเกาะที่อยู่ห่างจากชายฝั่งมากที่สุด แต่ระยะทางก็ไม่ใช่อุปสรรคที่สำคัญ ของเกาะนี้เพราะความงามและเสน่ห์ ของน้ำทะเลที่มีสีเขียวเข้ม ประกอบกับประการังที่มีสีสดใส และฝูงปลาที่ชุกชุม แวกว่ายไปมา ให้ชมอย่างใกล้ชิด ได้สร้างความประทับใจ ให้กับนักท่องเที่ยวมากมาย โดยรอบของเกาะเต่า จะมีอ่าวมากมาย ไม่ว่าจะเป็น อ่าวโฉลกบ้านเก่า ซึ่งเป็นชายหาดที่เป็นที่ตั้งของรีสอร์ทยุคแรกๆในเกาะเต่า อ่าวเทียนออก ที่เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถ ได้ใกล้ชิดกับ ปลาฉลาม และไม่เป็นอันตราย หาดแม่หาด ที่มีความสวยงาม และเป็นประตูสู่เกาะเต่า อ่าวเมา ซึ่งเป็นอ่าวที่มี ลักษณะโค้งเว้า เหมือนพระจันทร์ เสี้ยว ที่งดงามอีกด้วย จากในอดีด การเดินทางต้องนั่งเรือนานข้ามคืน แต่ในปัจจุบัน มีเรือเร็ว(Speed Boat) ให้ไปถึงเกาะเต่า ได้ในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น หรือจะเดินทางมาจากเกาะสมุย หรือเกาะพะงัน ก็แสนจะสะดวกสบาย เกาะเต่า แห่งนี้ จึงกลายมาเป็น เกาะยอดนิยมที่นักท่องเที่ยว ชาวไทยและชาวต่างชาติรอนแรมนข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อที่จะมาเยี่ยมเยือน นอกจาก หาดทรายรี ที่สวยงามแล้ว ลึกลงไปใต้พื้นน้ำทะเลของเกาะเต่า ยังมีประการังที่สวยงามและยังคงอุดมสมบูรณ์ ทั้งประการังน้ำตี้นและน้ำลึกนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะเต่า คิดเป็นร้อยละ 90 มีเป้าหมายในการดำน้ำเพื่อที่จะชื่นชมความงามของประการัง ต้ทะเลของเกาะเต่ามีการเปิดโรงเรียนสอนดำน้ำหลายหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว หลายแห่ง โดยมีใบรับรองจากสถาบันดำน้ำนานาชาติ ที่เป็นที่ยอมรับ ทั่วโลก จนปัจจุบัน เกาะเต่า ได้ชื่อว่าเป็นเกาะที่มีโรงเรียน สอนหลักสูตรดำน้ำมากที่สุดในประเทศไทย และที่สำคัญคือ ค่าเรียน คอร์สในการดำน้ำนั้นถูกมากๆ

 

Thai